นานมาแล้ว มีเศรษฐีอยู่คนหนึ่ง มีสมบัติเงินทองมากมาย แต่ไม่มีทายาทสืบสกุล จึงถูกยาจกผู้มีบุตรมากซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กัน พูดจาดูถูก ว่าสมบัติของท่านแม้มีมากมาย ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีทายาทไว้สืบสกุล เศรษฐีผู้นั้นจึงได้บวงสรวงทำพิธีขอบุตร แต่ผ่านมาเนิ่นนาน ก็ยังไม่สามารถมีบุตรได้ จนในที่สุด เศรษฐีก็ได้มาขอบุตรจากพระไทร พระไทรรู้สึกสงสาร จึงได้มาทูลขอจากพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลกุมารเทวบุตรจุติลงมาเกิดเป็นบุตรของเศรษฐีผู้นั้น
ธรรมบาลกุมารเติบโตมาเป็นเด็กฉลาดเฉลียว สามารถเรียนไตรเทพจบตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ทั้งยังสามารถเรียนรู้ภาษานก ความดังกล่าวรู้ถึงท้าวกบิลพรหม จึงต้องการทดสอบปัญญาของธรรมบาลกุมาร จึงเสด็จมาโลกมนุษย์ ตั้งคำถามธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ คือ ตอนเช้าราศีอยู่ที่ใด กลางวันราศีอยู่ที่ใด ตอนเย็นราศีอยู่ที่ใด โดยตกลงกันว่า ถ้าธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบคำถามได้ภายใน 7 วัน จะต้องตัดศีรษะบูชาท้าวกบิลพรหม แต่ถ้าสามารถตอบได้ ท้าวกบิลพรหม จะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมารเช่นกัน
๖วันพานไปแล้ว แต่ธรรมบาลก็ยังไม่รู้ว่าคำตอบคืออะไร ธรรมบาก็เลยซ่อนใต้ต้นไม้ใหญ่ที่นกอินทรีคู่หนึงอยู่ด้วยกัน ตอนเย็นนกหญิงถามนกชายว่า พรุ่งนี้พวกเขาจะไปหาอาหารที่ไหนบ้าง นกชายก็ตอบว่า “พรุ่งนี้ไม่ต้องออกไปหาอาหารหรอก เรารอกินร่างกายของธรรมบาลกุมารที่ไม่สามารถตอบคำถาม๓ข้อของกบิลพรหมได้” นกหญิงสงสัยเรื่องคำถามคำตอบ นกชายเลยบอก คำตอบให้นกหญิงว่า “ตอนเช้าราศีอยู่ที่หน้า มนุษย์ก็เลยเอาน้ำล้างหน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่อก มนุษย์จึงเอาน้ำพรมอก ตอนเย็นราศีอยู่ที่เท้า มนุษย์ก็เอาน้ำล้างเท้า”
ธรรมบาลรู้ภาษานก แล้วเขาก็เลยสามารถตอบคำถามได้ ธรรมบาลจึงวิ่งกลับหอเขา วันรุ่งขึ้น กบิลพรหมถามธรรมบาลว่า ตอบคำถามได้หรือเปล่า ธรรมบาลก็ตอบคำถามได้ เพราะธรรมบาลได้ยินคำตอบจากนกอินทรี กบิลพรหมแพ้แล้ว กบิลพรหมจึงต้องทำตามสัญญาว่าคนแพ้ต้องตัดเศียรของตัวเอง แต่เศียรกบิลพรหมมีฤทธ์มาก ถ้าเศียรกบิลพรหมตกต้องพื้นดิน พื้นดินก็จะลุกเป็นไฟ ถ้าเศียรกบิลพรหมโยนขึ้นไปในอากาศ ฝนก็จะไม่ตกแล้ว ทุกที่จะฝนแล้ง ถ้าเศียรกบิลพรหมตกลงในมหาสมุทร น้ำก็จะเหือดแห้งหมดทันที เพราะฉะนั้น ธิดา๗คนของกบิลพรหมต้องนำพนมารองรับเศียรกบิลพรหม แล้วนำไปแห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้วธิดานำเข้าไปเก็บในถ้ำที่เขาไกรลาศ พอครอบ๑ปี ธิดาทั้ง๗ผลัดกันนำเศียรไปแห่รอบเขาพระสุเมรุ วันที่๑๓เมษายนซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์ท่ธิดา๑คนนำเศียรไปเวียนรอบเขาพระสุเมรุ
วันอาทิตย์: นางสงกรานต์ทุงษเทวี
วันจันทร์: นางสงกรานต์โคราดเทวี
วันอังคาร: นางสงกรานต์รากษสเทวี
วันพุธ: นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
วันพฤหัสฯ: นางสงกรานต์กิริณีเทวี
วันศุกร์: นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
วันเสาร์: นางสงกรานต์มโหทรเทวี