The Origins of 'Songkran' จุดกำเนิดของสงกรานต์
คำว่า "สงกรานต์" มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤต "สังกรานติ" แปลว่า การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์จากราศีหนึ่งไปยังอีกราศีหนึ่ง ซึ่งใช้เวลาประมาณราศีละ ๑ เดือน เพราะฉะนั้นดวงอาทิตย์จะเคลื่อนไป ๑๒ ราศีใน ๑ ปี และต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ราศีแรกคือ "ราศีเมษ" เคลื่อนออกจากราศีสุดท้ายคือ "ราศีมีน" การเคลื่อนย้ายดวงอาทิตย์คราวนี้ ภาษาอินเดียเรียกว่า "มหาวิษุวัตสงกรานต์" แต่คนไทยเรียกสั้นๆว่า "มหาสงกรานต์" หรือแค่ "สงกรานต์"
ในสมัยนี้ ช่วงสงกรานต์จะไม่มาพร้อมกับวสันตวิษุวัตแล้ว เนื่องจากปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ระหว่างโลก ดวงอาทิตย์ และกลุ่มดาวฤกษ์ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนออกจากราศีมีนเข้าหาราศีเมษทุกปีไม่เหมือนกัน ปรากฏการณ์นี้เนื่องจากแกนของโลกไม่คงที่ มีการแกว่งตัวอย่างช้าๆระหว่าง ๒๑ – ๒๔ องศา ปัจจุบันแกนของโลกอยู่ในมุมเอียงประมาณ 23.4 องศา เป็นสาเหตุทำให้การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในราศีต่างๆเปลี่ยนไปหมด
วันมหาสงกรานต์ หมายถึง การเข้าสู่ครั้งใหม่ วันนี้ก็เรียกว่า "ปีใหม่" รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปีเป็นวันมหาสงกรานต์ หรือวันปีใหม่
วันเนา หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษ คนไทยทั่วไปชื่อว่าวันนั้นเป็นวันตั้งต้นปีใหม่ วันที่ ๑๔ เมษายนของทุกปีได้กำหนดให้ เป็น "วันเนา"
วันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศก ซึ่งเป็นวันที่มีการเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ โดยวันขึ้นศกใหม่นั้น วันนั้นเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษอย่างแน่นอน เป็นผลสำเร็จ
วันมหาสงกรานต์ทางดาราศาสตร์ จริง ๆ แล้วเป็นวันไหนระหวั่งวันที่ ๑๒ ถึง วันที่ ๑๕ เมษายนก็ได้ ตามเวลาที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษเมื่อปีนั้น แต่เพื่อจะให้จดจำได้ง่าย เทศกาลสงกรานต์จึงถูกกำหนดให้เริ่มตอนวันที่ ๑๓ เมษายนในทุกปี และจะจบลงตอนวันที่ ๑๕ เมษายน
The word "Songkran" comes from Sanskrit "sankranti" which translates into "celestial passing" or the crossing of the Sun from one zodiac sign to another. This crossing occurs once every month, therefore there are technically twelve "Songkrans" in a year where the Sun crosses twelve zodiac signs to restart at Aries after crossing over from Pisces. When the Sun crosses from Pisces to Aries, it is known as Maha Vishuva Sankranti in Hindi, but the Thais call it Mahasongkran (literally "the great Songkran") for short or just Songkran!
In the past, Songkran was related to the vernal (spring) equinox, and the Thai New Year (which is Songkran) would coincide with the start of the Spring season. Thailand does not have the Spring season but the wet season. Songkran falls at the beginning of the wet season, marking the start of the rice-planting season.
However in today's age, the Songkran period does not coincide with the vernal equinox anymore. This is due to the astrological phenomenon concerning the Earth, the Sun and the Constellations (i.e. the Zodiac signs) where the tilting of the rotation axis of Earth does not remain stationary — instead, it varies very slowly between 21 and 24 degrees. This causes the relative position of the Sun, Earth and the constellations to shift all the time such that every crossing from one constellation to another does not occur at the same time or day every year. Currently, the Earth's rotation axis is tilted at an angle of 23.4 degrees, and this is the reason why the shifting in position of the Sun in the different constellations relative to Earth is different.
According to astrological principles, Songkran Day in reality can occur on any day between 12 and 15 April depending on when the Sun crosses from Pisces to Aries in that year, but in order to let people remember easily when Songkran Day is, it was arbitrarily set as 13 April every year and has been taken to be the Thai New Year Day ever since.
